• หน้าแรก

  • Blog

  • Blended Learning เหมาะกับผู้เรียนและผู้สอนในยุคดิจิทัล

Blended Learning เหมาะกับผู้เรียนและผู้สอนในยุคดิจิทัล

  • หน้าแรก

  • Blog

  • Blended Learning เหมาะกับผู้เรียนและผู้สอนในยุคดิจิทัล

Blended Learning เหมาะกับผู้เรียนและผู้สอนในยุคดิจิทัล

ส่วนผสมทางการศึกษา หรือ Blended Learning มีหลายวัตถุดิบ และหลายสูตร STEM (Science Technology Engineering Mathematics) ก็เป็นการ Blended กลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆ เข้าด้วยกัน PLC (Professional Learning Community) หรือ CoP (Community of Practice) ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ หรือชุมชนนักปฏิบัติ ก็เป็น Blended รูปแบบหนึ่งซึ่งนำครูจากกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างกันมาเข้ากลุ่มกัน MTSS (Multi-Tiered System of Supports) คือแบ่งผู้เรียนออกเป็น 3 กลุ่มตามความต้องการ และนำบุคลากรสายสนับสนุนให้เข้าช่วยในการจัดการเรียนการสอน คล้ายการเรียนคละชั้น Flipped Classroom หรือห้องเรียนกลับด้าน ก็เป็นการ Blended ในแง่ผสมผสานการเรียนในห้องเรียนกับการศึกษาหาความรู้นอกห้องเรียนเข้าด้วยกัน

ส่วนผสมที่กลมกล่อมระหว่างห้องเรียนแบบ Face-to-Face กับการเรียนการสอนระบบ Online หรือที่รู้จักกันในนาม Blended Learning จำเป็นต้องอาศัย Barista หรือนักชงกาแฟมือฉมังที่จะมาทำหน้าที่ผสมผสานรูปแบบห้องเรียนแนวใหม่ซึ่งหลอมรวมเอาระบบการเรียนการสอนแบบดั้งเดิมหรือ Lecture-based Learning คนให้เข้ากับ Online-based Learning หรือการจัดการเรียนการสอนผ่านระบบอินเตอร์เน็ต

Blended Learning เป็นเครื่องมือสำคัญในการแสวงจุดร่วม-สงวนจุดต่างระหว่าง Lecture-based Learning กับ Online-based Learning ได้เป็นอย่างดี ทั้งยังเป็นการประนีประนอมระหว่างครูอาวุโสที่คุ้นเคยกับรูปแบบ Lecture-based Learning กับครูรุ่นใหม่ที่เติบโตมากับ Online-based Learning

เนื่องจาก Blended Learning นั้น แม้ว่าจะส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนผ่านระบบ Online ด้วยการยืดเวลาให้นิสิตสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องทุกเวลาและทุกสถานที่ ผ่านสื่อการเรียนการสอนอิเล็กทรอนิกส์ ทว่า Blended Learning ก็ยังสนับสนุนการพบปะสังสรรค์กันในห้องเรียนระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน หรือผู้เรียนกับผู้เรียนด้วยกันผ่านการทำงานกลุ่ม

Barista ในระบบการศึกษายุค 4.0 จึงนอกจากจะต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญการใช้เครื่องไม้เครื่องมือทาง ICT ในการประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนแล้ว ยังต้องชำนาญในการให้การศึกษาผ่านห้องเรียนรูปแบบดั้งเดิม และต้องเป็นนักปรุงมือฉมังเพื่อให้รสชาติการเรียนรู้ดังกล่าวกลมกล่อมอีกด้วย

อย่างไรก็ดี แม้ว่าจะมีความพยายามผลักดันระบบการจัดการศึกษาไปสู่ยุค 4.0 หรือยุคนวัตกรรมการศึกษา ไม่ว่าจะเป็น Online-based Learning หรือ Blended Learning มากเพียงไรก็ตาม ทว่า Education equity หรือความเสมอภาคทางการศึกษา เป็นชุดความคิดที่ควรนำมาประกบคู่กับการจัดการศึกษาในทุกรูปแบบ

เหตุผลก็คือ สภาพแวดล้อมทางโครงสร้างพื้นฐานในประเทศกำลังพัฒนาเกือบทั้งหมด โดยเฉพาะประเทศไทย ที่มีความหลากหลายของสถาบันการศึกษาไม่ว่าจะเป็นขนาด อายุ แนวทาง และที่สำคัญก็คืองบประมาณ โดยเฉพาะโรงเรียนในเขตชนบทที่ไกลออกไปมากๆ ยังคงมีความไม่เสมอภาคทางการศึกษาทั้งในแง่ความพร้อมของการจัดโครงสร้างพื้นฐาน ไม่ว่าจะเป็นระบบไฟฟ้า หรือเครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่ยังครอบคลุมไปไม่ถึง

ดังนั้น Education equity หรือ ความเสมอภาคทางการศึกษา จึงเป็นอีกประเด็นหนึ่งซึ่งต้องพึงระวังท่ามกลางความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อให้เกิดความเท่าเทียมกันในการเข้าถึงองค์ความรู้นั่นเอง

แม้ดูเหมือนว่า Blended Learning กำลังจะเป็นแนวโน้มใหม่หรือเป็นบันไดขั้นพักระหว่างการเปลี่ยนผ่านจากยุค Lecture-based Learning สู่ยุค Online-based Learning ของไทย

เห็นได้จากในปัจจุบันมีแนวโน้มการนำแนวคิด Blended Learning มาใช้งานเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากในยุคเปลี่ยนผ่านดังกล่าว เป็นยุคที่มีการผสมผสานกันระหว่างครูสองรุ่นคือครูอาวุโสกับครูรุ่นใหม่ ผ่านการบูรณาการระหว่างการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนกับการให้ความรู้ผ่านระบบออนไลน์

หลักใหญ่ใจความของ Blended Learning ก็คือการค้นหาประสิทธิภาพของเครื่องมือที่จะเข้ามาช่วยเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน และสร้างสมดุลในเรื่องของการใช้เวลาในชั้นเรียนได้อย่างเหมาะสมนั่นเอง

ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมที่ https://www.salika.co/2018/09/05/blended-learning/

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์